4 ขั้นตอน ขายของออนไลน์
E-Commerce
E-Commerce

4 ขั้นตอน ขายของออนไลน์ ให้โคตรปัง!

นาทีนี้เทรนด์ธุรกิจที่กำลังมาแรงคงหนีไม่พ้นการ ขายของออนไลน์ แน่นอน โดยเฉพาะหลังจากผ่านช่วงวิกฤตโควิด-19 มีธุรกิจหลายเจ้าที่ผันตัวมาทำออนไลน์กันมากขึ้น

แต่การจะทำให้ร้านค้าของเราแจ้งเกิดบนโลกออนไลน์ได้ มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน มีทั้งคนที่ทำแล้วรุ่ง และคนที่ทำแล้วร่วง หากคุณอยากให้ร้านค้าของคุณประสบความสำเร็จ นี่คือ 4 ขั้นตอน ขายของออนไลน์ ที่คุณต้องรู้

1. วางแผนการตลาด

แน่นอนว่าการจะทำธุรกิจ หากเราคิดปุ๊บ ทำปั๊บ ไม่มีการวางแผน ก็มีความเสี่ยงสูงที่ธุรกิจของเราจะไปไม่รอด เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราควรจะทำก็คือ “การวางแผน”

ชื่อร้าน / แบรนด์

การตั้งชื่อร้านค้า หรือแบรนด์ ควรใช้ชื่อที่กระชับ จดจำได้ง่าย เป็นเอกลักษณ์ และไม่ซ้ำกับคนอื่น วิธีการตรวจสอบชื่อแบรนด์ว่าซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ เราอาจนำชื่อที่คิดได้มาลองค้นหาบน Google Search, Facebook หรือ Instragram ดูก่อนก็ได้ว่า มีใครตั้งชื่อเพจ ร้านค้า และเว็บไซต์นี้แล้วหรือยัง

ค้นหากลุ่มลูกค้าที่ใช่

การขายของออนไลน์ หากเรารู้จักกลุ่มเป้าหมาย หรือรู้ว่าลูกค้าของเราเป็นใคร จะช่วยให้เราสามารถทำการตลาดออนไลน์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านของการทำคอนเทนต์ ทำโฆษณา รวมถึงแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ โดยสิ่งที่คุณต้องค้นหาก็คือ

  • ลูกค้าของเราเป็นใคร : เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ
  • ลูกค้าของเราอยู่ที่ไหน : ประเทศ จังหวัด หรือพื้นที่ ที่มีความเฉพาะเจาะจง
  • ลูกค้าของเรามีพฤติกรรมแบบไหน กำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่

คุณอาจเคยเห็นคอนเทนต์บน Facebook แล้วรู้สึกว่าคำมันโดน สินค้าชิ้นนี้ ตรงกับที่เรากำลังสนใจอยู่ ร้านนี้อยู่ไม่ไกลด้วย นั่นเพราะว่าเขาค้นหาคุณเจอแล้วนั่นเอง

มองหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่

 

ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน วัดผลได้

หลายคนมีความคิดที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์เพราะคิดว่ามันดูง่าย ใครๆ ก็ทำกัน แต่ความจริงถ้าคุณแค่ทำตามคนอื่น ไม่มีการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ก็มักจะเริ่มท้อ ขี้เกียจ และล้มเลิกไป สำหรับการขายของออนไลน์ คุณอาจจะเริ่มตั้งเป้าหมายจากง่ายๆ ก่อนก็ได้เช่น

  • มีจำนวนการสั่งซื้อ 10 ออเดอร์ ต่อวัน หรือ 30 ออเดอร์ต่อเดือน
  • มียอดขาย 50,000 บาท ต่อเดือน
  • มีคนติดตาม Facebook 10,000 คน (ที่เป็นคนจริงๆ ไม่ใช่การซื้อ Like)
  • มีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ 10,000 คนต่อเดือน

เมื่อธุรกิจของคุณมีเป้าหมายชัดเจนแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การหาเส้นทางเพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น

ตอนนี้ธุรกิจของคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วหรือยัง ?

ตั้งเปาหมายการขายของออนไลน์ให้สูงขึ้น จำนวนการสั่งซื้อ ยอดขาย ผู้ติดตาม หรือผู้ชมเว็บไซต์

 

2. เลือกช่องทางโปรโมทสินค้า

เมื่อเราได้ชื่อแบรนด์ และรู้แล้วว่าลูกค้าของเราคือใคร สเต็ปถัดไปคือการเลือกช่องทางการขายสินค้า ซึ่งความจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะขายเฉพาะช่องทางไหน เพราะแต่ละช่องทางก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น

Social Media

Facebook และ Instagram คนที่คิดจะขายของออนไลน์ต้องมีช่องทางนี้อยู่ในหัวด้วยอย่างแน่นอน โดยจุดเด่นของ Social Media จะอยู่ที่การเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย สามารถพูดคุย จัดกิจกรรม และมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดี ช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์

ร้านค้าที่ขายของผ่าน Facebook ไม่จำเป็นต้องแข่งขันในเรื่องของราคา แถมยังสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ด้วยผ่านการทำคอนเทนต์ที่ดี สำหรับร้านค้าที่พึ่งเปิดเพจใหม่ๆ อาจช่วยให้คนรอบตัวกด Like เพจ หรือช่วยกันแชร์ให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักได้ หากมีต้นทุนก็สามารถลงโฆษณาเพื่อโปรโมทร้านค้าได้เช่นกัน

Marketplace

หรือที่เรารู้จักกันชื่อของ Shopee หรือ LAZADA เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ให้เราสามารถเข้าไปสร้างโปรไฟล์ร้านค้า และนำสินค้าไปลงขายได้ เป็นช่องทางที่นักช้อปมากมายเข้ามาค้นหาสินค้าที่ตัวเองต้องการ และเปรียบเทียบราคาจากหลายๆร้านก่อนซื้อ ทำให้ Marketplace มีการแข่งขันเรื่องราคาค่อนข้างมาก

แต่พฤติกรรมของนักช้อปก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน นอกจากการเปรียบเทียบราคา ยังมีการหาข้อมูลรีวิว เพื่อเปรียบเทียบเพิ่มเติมอีกด้วย ร้านไหนที่มีรีวิวเยอะ และดี ก็สามารถสร้างรายได้จากตรงนี้ได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับร้านค้าที่พึ่งเข้ามาใหม่ รีวิวยังไม่ค่อยมี หากขายสินค้าเหมือนกับร้านอื่นๆ ก็ยังต้องแข่งในเรื่องของราคา ทำให้ร้านค้าอาจจะต้องหาช่องทางอื่นๆ มาช่วยโปรโมทในช่วงแรกอีกด้วย

Website

หากร้านค้าของคุณมีเว็บไซต์ด้วย ก็จะช่วยให้ร้านสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มาจาก Google Search ได้ ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะมีคุณภาพค่อนข้างมากเพราะคนที่ค้นหาข้อมูล หรือสินค้าบางอย่างบน Google โดยส่วนใหญ่จะมีความต้องการสินค้านั้นอยู่แล้ว

ยิ่งถ้าเราสามารถทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับในหน้าแรกของ Google ได้ ร้านค้าของคุณก็จะมีคนเข้ามาซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง และระยะยาว

ตัวอย่างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ 4u2.com

https://www.4u2thailand.com/

 

นอกจากนี้เว็บไซต์ยังช่วยต่อยอดการตลาดออนไลน์ในช่องทางอื่นๆ ได้อีกมากเลย ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลของคนที่เข้ามาดูเว็บไซต์เพื่อนำไปกำหนดกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการทำโฆษณาในช่องทางอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ Google Ads

คุณอาจจะเคยเห็นโฆษณาสินค้า จากเว็บไซต์ที่คุณพึ่งเข้าไปดูมา อยู่บน Facebook นี่ก็เป็นอีกรูปแบบของการตลาดออนไลน์ที่ร้านของคุณสามารถทำได้หากมีเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์จะนิยมอยู่ 2 ประเภทคือ จ้างทำด้วย WordPress และการใช้เว็บไซต์ สำเร็จรูป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บสำเร็จรูป MakeWebEasy ที่นี่

LINE Official Account

จริงๆ แล้ว LINE OA นับว่าเป็น Social Media อีกช่องทางหนึ่ง แต่ที่ผมแยกมันออกมาเพราะว่า เราใช้มันโดยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เราไม่ได้ใช้เพื่อโปรโมท แต่เราใช้ LINE OA เพื่อพูดคุยให้ข้อมูลกับลูกค้าโดยเฉพาะ

หลายคนอาจจะคิดว่าแล้วทำไมไม่ใช้ Facebook Messenger ล่ะ

ก็ไม่ผิดครับ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ลูกค้าที่แอด LINE OA เพื่อเข้ามาสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้า มีโอกาสปิดการขายได้มากกว่า Facebook Messenger ถึง 70% และตอนนี้เราก็สามารถลงสินค้าผ่าน LINE My Shop ได้อีกด้วย เมื่อลูกค้าสนใจสินค้าเราสามารถส่งลิงก์นี้ให้ลูกค้ากดซื้อ และชำระเงินได้ทันที

โปรโมทสินค้าผ่านไลน์ Official Account และ LINE My Shop

 

3. เลือกช่องทางการชำระเงิน

สิ่งสำคัญที่ร้านค้าออนไลน์จะขาดไปไม่ได้เลยคือ ช่องทางการรับชำระเงินออนไลน์ ร้านค้าออนไลน์หลายแบรนด์อาจเริ่มต้นจากการจากใช้บัญชีธนาคารในการรับเงิน แต่ถ้าจะให้ดี หากร้านค้าสามารถรับชำระเงินออนไลน์ด้วยบัตรเครดิตได้ ร้านของคุณจะมีโอกาสปิดการขาดเพิ่มขึ้นอีก 30% เลยทีเดียว

การรับชำระด้วยบัตรเครดิตนั้นสามารถทำได้โดยใช้บริการ Payment Gateway ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  • ของธนาคาร : K-Payment Gateway ของธนาคารกสิกร
  • ไม่ใช่ของธนาคาร : Paypal, GB Prime Pay

แน่นอนว่าหลายคนพอเห็นว่ามีการเก็บค่าธรรมเนียมด้วยเลยไม่อยากใช้งาน แต่ผมแนะนำว่า ควรใช้ครับ เพราะสิ่งที่คุณจะได้กลับมาคือ โอกาสปิดการขาย และจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

ใช้ Payment Gateway เพื่อให้ร้านค้ารองรับการชำระสินค้าบนมือถือด้วยบัตรเครดิต

 

4. วัดผลลัพธ์การตลาดออนไลน์

ไม่ใช่แค่การขายของออนไลน์ แต่การทำธุรกิจทุกประเภทหากต้องการให้ประสบความสำเร็จ คุณต้องรู้จักการวัดผลลัพธ์ด้วย เพื่อให้เรารู้ว่าเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ตั้งแต่ต้นนั้น เราทำสำเร็จ หรือใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น

  • เป้าหมายคือ มีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ 5,000 คนต่อเดือน
  • ผลลัพธ์คือ เดือนทีแล้วมีคนเข้ามาดู 50 คน
  • แนวทางการปรับปรุง ลองเขียนคอนเทนต์ที่น่าสนใจ โดยใช้ Keyword ที่มีปริมาณการค้นหา หรือ โฟกัสที่การทำ SEO ให้มากขึ้น

การวัดผลลัพธ์นั้นช่วยให้เรารู้ว่าจุดบ้างไหนที่เราควรปรับปรุง เพื่อที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นให้ได้

แต่ถ้าผลลัพธ์ที่คุณได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ สิ่งที่คุณต้องทำต่อไปก็คือ ตั้งเป้าหมายให้ให้สูงขึ้น เพื่อธุรกิจของคุณโตขึ้นไปตามเป้าหมายที่คุณตั้งไว้

 

Tips

สำหรับร้านค้าที่มองไม่เห็นทางว่าเราควรจะพัฒนายังไงต่อไป แนะนำให้ “ศึกษาจากคู่แข่ง” คู่แข่งของเราขายสินค้าช่องทางไหนบ้าง มีวิธีการโปรโมทยังไงให้น่าสนใจ รูปภาพ การเขียนแคปชั่น กิจกรรมทางการตลาด การตลาดของคู่แข่งในแต่ละช่องทางเขาทำยังไง การศึกษาจาก Case Study จากคู่แข่ง จะช่วยให้เรามีแนวทางในการพัฒนาร้านค้าได้อย่างแน่นอน

Get Start !

หากคุณอยากให้ร้านค้าประสบความสำเร็จบนโลกออนไลน์ เริ่มต้นทำตั้งแต่วันนี้

  1. เริ่มวางแผน ตั้งชื่อร้านให้แตกต่าง หากลุ่มเป้าหมายให้เจอ และที่สำคัญตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
  2. เลือกช่องทางการโปรโมทสินค้าให้ครอบคลุม เข้าถึงลูกค้าทุกช่องทาง
  3. เลือกช่องทางการชำระเงิน ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เพื่อเพิ่มโอกาสปิดการขาย
  4. สุดท้ายที่คุณทำมาทั้งหมด ต้องวัดผลได้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา ให้ไปถึงไปหมายที่ตั้งไว้