core web vitals คือ อะไร หาคำตอบได้ที่นี่
SEO
SEO

Core Web Vitals คือ อะไร? ปัจจัย SEO ใหม่ ที่ส่งผลต่ออันดับเว็บไซต์

เจ้าของเว็บไซต์ และนักทำ SEO ทุกท่านเตรียมรับมือ Core Web Vitals ปัจจัยการจัดอันดับเว็บไซต์ ที่ Google ประกาศอย่างเป็นทางการ

ในแต่ละปีเรามักจะติดตาม SEO Trends จากผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักที่รวบรวมข้อมูลมา ใช้เป็นแนวทางในการทำ SEO ของแต่ละปี (น้อยครั้งที่ Google นั้นจะเป็นคนมาบอกเอง) แตกต่างจากครั้งนี้ที่เจ้าตัวนั้นได้ออกมาประกาศด้วยตัวเอง!

 

Core Web Vitals คือ

ปัจจัยสำคัญที่จะวัดผลในเรื่องของ UX (User Experience) หรือประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ เพราะนอกจากเนื้อหาเว็บไซต์ที่มีคุณภาพแล้ว Google ต้องการให้ผู้ใช้งานนั้นได้รับประสบการณ์ที่ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความเร็วในการดาวน์โหลดคอนเทนต์, การตอบสนองของเว็บไซต์ และความเสถียรของดีไซน์ในเว็บไซต์

 

การเช็ค Core Web Vitals

เราสามารถดูรายงาน Core Web Vitals ของเว็บไซต์เราได้ที่ Google Search Console และ Google PageSpeed Insights โดยเราสามารถดูรายงานภาพรวมทั้งหมดในเว็บไซต์ของเราได้เลยที่เดียว หน้าไหนดี หน้าไหนมีปัญหา เราสามารถเห็นได้ชัดเจน

 

หากเราต้องการคลิกเพื่อดูรายละเอียดในส่วนต่างๆ ที่เราต้องแก้ไข Google Search Console จะส่งเรามาที่ Google PageSpeed Insights เพื่อดูรายละเอียดเชิงลึกของหน้าเพจนั้นอีกที

 

ทีนี้เรามาลงลึกกันอีกว่า Core แต่ละตัวนั้นคืออะไร แล้วจะมีวิธีการปรับเว็บไซต์ยังไงบ้าง เพื่อให้เราปรับเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้นเพื่อเรียกคะแนนจาก Google

 

  • Largest Contentful Paint (LCP)

ตัววัดผลเรื่อง ความเร็วในการดาวน์โหลดเนื้อหา ในหน้าเว็บไซต์ โดยวัดจากองค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในเว็บเช่น เนื้อหา ภาพประกอบ หรือวีดีโอ ความเร็วที่เหมาะสมนั้นควรใช้เวลาดาวน์โหลดไม่เกิน 2.5 วินาที (นับจากองค์ประกอบแต่ละส่วน ไม่ใช่ทั้งเว็บไซต์) 

ผลลัพธ์ได้นั้นจะนับจาก องค์ประกอบชิ้นสุดท้ายที่ใช้เวลาดาวน์โหลดมากที่สุด

 

การแก้ปัญหาเรื่อง Page Speed

ลบ และ ลด องค์ประกอบเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ – ปัญหาที่เรามักจะพบกันบ่อยๆ มักจะเป็นเรื่องของไฟล์ภาพประกอบที่มีขนาดใหญ่ นามสกุลไฟล์ที่ใช้ ภาพเคลื่อนไหว หรือ VDO

เพราะการออกแบบเว็บไซต์คนส่วนใหญ่มักจะต้องการให้ภาพในเว็บไซต์ดูสวยคมชัด จึงทำไฟล์รูปให้มีขนาดใหญ่ บางเว็บไซต์อาจเน้นแต่ใส่รูปจึงทำให้หลายๆ เว็บไซต์ พบกับปัญหานี้

ลองลดขนาดไฟล์รูปภาพให้พอดี ลบภาพที่ไม่จำเป็นออก เซฟไฟล์ภาพเป็นนามสกุล .webp ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ของเราเบา และโหลดได้เร็วยิ่งขึ้น

 

ลบ Script ฟังก์ชั่นต่างๆ จาก Third-party – เพราะการโหลดหน้าเว็บที่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้อยู่ ต้องมีการดึงข้อมูลจากนอกเว็บไซต์เพื่อเข้ามาแสดงผลร่วมด้วย ทำเว็บของเราต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชั่น Facebook Like Box เมื่อเราเข้าเว็บไซต์ การดาวน์โหลดจะต้องดึงข้อมูลของ Facebook Page และ Timeline ในหน้าเพจของเรามาแสดงผลในเว็บไซต์จึงทำให้ใช้เวลามากขึ้น

รวมถึง Live Chat ต่างๆ ก็ถือว่าเป็น Third-party เช่นกัน

 

อัพเกรดเว็บโฮสติ้ง – เปิดการประเพิ่มสิทธิภาพให้กับ Server ของเว็บไซต์ที่เราเช่าเอาไว้ หากเป็นเว็บไซต์ที่มีการเช่าโฮส อาจจะมีแพ็กเกจที่ให้เราอยู่ใน Server ที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูง

 

First Input Delay (FID)

FID จะเป็นตัววัดผลความเร็วในการตอบสนองของเว็บไซต์กับผู้ใช้งาน ว่าเวลาคลิกปุ่ม Call to action ต่างๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์นั้นมีระยะเวลามากไหนถึงจะมีการโต้ตอบกลับมา ยกตัวอย่างเช่น

  • การคลิกเลือกเมนู เปลี่ยนหน้าเร็วหรือไม่
  • การคลิกลิงก์ มีการตอบสนองเร็วแค่ไหน
  • การกด Submit หรือ ลงทะเบียน ใช้เวลาส่งข้อมูลนานแค่ไหน

 

ความเร็วที่เหมาะสมควรไม่เกิน 100 milliseconds หรือ 0.1 วินาที

สำหรับเว็บไซต์ที่มีแต่เนื้อหา 100% เช่นบล็อก บทความ หรือเว็บข่าว FID อาจไม่ส่งผลมากนัก แต่ก็ยังมีการตอบสนองในเรื่องการเลื่อนหน้าจอ คลิกภาพ และการซูม เข้า/ออก อยู่ด้วย เช่นกัน

หากเว็บไซต์ของเรามีระบบ Log-in เพื่อเข้าไปใช้งานระบบสมาชิก แต่เมื่อกดเข้าไปแล้วรู้สึกว่าเว็บไซต์หน่วง ช้า หรือ เข้าไม่ได้สักที แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้เป็นสิ่งที่ Google ไม่ต้องการ และเราต้องแก้ไขโดยด่วน

 

การแก้ปัญหาส่วนการตอบสนองเว็บไซต์

ปัญหาหลักของการเกิด Delay นั้นมาจากการที่ Browser ของเรากำลังดาวน์โหลด Script และข้อมูลอื่นๆ ในเว็บไซต์อยู่ จึงทำให้การคลิกมีการตอบสนองค่อนข้างช้า

สำหรับคนที่เขียนเว็บ หรือใช้ WordPress ในการทำ เว็บไซต์ Google แนะนำให้เราลบ JavaScritp ที่ไม่ได้ใช้ออก รวมถึง Plug-in ต่างๆ ที่มีดึงข้อมูลมาจาก Third-Party เพื่อลดการทำงานในส่วนที่ไม่จำเป็นออก

การลดขนาดไฟล์รูปภาพ Gif และ Video นอกจากจะช่วยในเรื่องของ Page Speed ก็ทำให้เว็บไซต์ตอบสนองได้เร็วขึ้นเช่นกัน

 

Cumulative Layout Shift (CLS)

ตัววัดความเสถียรของ Layout เว็บไซต์ ปัญหาเหล่านี้เราสามารถเห็นได้ชัดเจนบนหน้าเว็บ หากให้อธิบายให้เห็นภาพก็ตัวอย่างเช่น

  • ฟอนต์ที่มีขนาดเล็กเกินไปจนอ่านยาก
  • ปุ่มที่มีขนาดเล็ก หรืออยู่ติดกับปุ่ม ด้านข้างมากเกินไปจนทำให้กดผิด
  • ดีไซน์ที่เด้งไปเด้งมา ขณะที่เว็บไซต์กำลังโหลด

 

บางคนต้องการอ่านบทความในเว็บไซต์ แต่จู่ๆ กลับมีโฆษณาแทรกเข้ามาทำให้มือไปโดนจนคลิกที่โฆษณา เด้งออกไปนอกเว็บไซต์ เท่านี้เว็บไซต์ของเราก็มอบประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับผู้ใช้งานแล้ว และถ้าเว็บไซต์ของเรายังเป็นแบบนี้อยู่ คงไม่มีใครกลับมาเข้าเว็บไซต์ของเราแน่นอน

 

การแก้ไขความเสถียรของดีไซน์

การแก้ไขปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่เราปรับดีไซน์ของเว็บไซต์ให้เหมาะสม ไม่ใช้ฟอนต์เล็กจนเกินไป ปุ่มต่างๆ ทำขนาด และวางตำแหน่งให้พอดี ไม่ใกล้กันจนเกินไป

ในส่วนของแบนเนอร์ต่างๆ เราอาจปรับตำแหน่งการวางใหม่เพื่อไม่ให้แทรกกลางเนื้อหา หรือ เหลือพื้นที่สำหรับให้แบนเนอร์ขึ้นโดยไม่ไปแทรกกับองค์ประกอบอื่นๆ ในเว็บไซต์ ปัญหาเหล่านี้ก็จะถูกแก้ไขได้ง่ายๆ เลย

 

Get Start 

Core Web Vitals คือ สิ่งสำคัญที่คุณต้องให้ความสำคัญหลังจากนี้ ลองกลับไปเช็คเว็บไซต์คุณด้วย Google Search Console ปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณเพื่อสร้างประสบการที่ดีให้กับผู้ใช้งาน

  • ทำเว็บไซต์ให้โหลดเร็วยิ่งขึ้น
  • การใช้งานลื่นไหล คลิกแล้ว ไม่ช้า หรือ หน่วง
  • ปรับตำแหน่งการวาง ปุ่ม ต่างๆ ให้ง่ายต่อการใช้งาน

และทำให้เว็บไซต์ของคุณได้รับคะแนน SEO จาก Google 

สร้างโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรก Google เพิ่มผู้ชม และยอดขายบนเว็บไซต์ด้วยบริการ SEO ของเราให้ธุรกิจคุณเหนือกว่าคู่แข่ง