Customer Lifetime Value คือ อะไร
Marketing, Online Marketing
Marketing, Online Marketing

Customer Lifetime Value คือ อะไร? ตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาว

Customer Lifetime Value คือ อะไร ?

CLV หรือ CLTV หรือ Customer Lifetime Value คือ มูลค่า (รายได้ หรือกำไร) ที่ลูกค้าคนหนึ่งได้สร้างให้กับแบรนด์ตลอดระยะเวลาที่เขาเป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นๆ

ตัวอย่าง

ผู้ให้บริการด้านเว็บไซต์ และการตลาดออนไลน์ MakeWebEasy อยากรู้ว่าลูกค้า 5 คนมี CLTV เท่าไหร่ โดยรู้ว่า

    • รายได้เฉลี่ยจากแต่ละคนคือ 100,000 บาท/ปี
    • และอายุการเป็นลูกค้าของแต่ละคนเฉลี่ยแล้ว 2 ปี

ดังนั้น CLV ของลูกค้า 5 คนคือ 100,000 x 2 = 200,0000 บาท

 

จากตัวอย่างข้างบน เราเห็นว่า CLV สูง หรือต่ำจะอยู่กับรายได้ หรือกำไร และระยะเวลาที่ลูกค้าแต่ละคนมีต่อแบรนด์ ซึ่งหมายความว่ายอดขายทั้งหมดของธุรกิจคุณสูง เมื่อ CLV สูง และต่ำ เมื่อ CLV ต่ำ

CLV ยังช่วยให้แบรนด์รู้อีกว่า ลูกค้าคนไหน หรือกลุ่มไหนที่สร้างกำไรให้ธุรกิจมากที่สุด และธุรกิจควรใส่ใจกับพวกเขาอย่างไร เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว และสร้างยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ CLV ยังเป็นตัวบ่งบอกถึงปัญหายอดขายที่ธุรกิจคุณอาจจะกำลังเจอด้วย

ตัวอย่าง 

กราฟ CLV ของร้านกาแฟ ABC มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ทำให้เรารู้ว่ายอดขายของธุรกิจกำลังลดลงอยู่ ลดลงตั้งแต่เดือนไหนมา มีช่วงที่ขึ้นแล้วลงตอนไหนบ้าง

กราฟ Customer Lifetime Value

ทั้งนี้เป็นข้อมูลจาก CLV ที่ ร้านกาแฟ ABC สามารถเอาไปต่อยอดทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลง หรือทำไมมีบางช่วงขึ้นแล้วบางช่วงลง และคิดหาทางแก้ไขปัญหานี้ได้

 

ในการศึกษาเกี่ยวกับ Customer Aquisition และ Retention ในปี 2021 พบว่า ต้นทุนในการหาลูกค้ากลุ่มใหม่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการรักษาลูกค้าที่มีอยู่ 5 เท่า

มากกว่านั้น หากการรักษาลูกค้า (Retention Rate) เติบโตขึ้นเพียง 5% ก็สามารถเพิ่มกำไรให้ธุรกิจได้มากถึง 25%-90% เลยทีเดียว

ตัวเลขข้างบนนี้ทำให้เรารู้ว่า เราจำเป็นต้องใส่ใจกับลูกค้าที่มีอยู่อย่างมาก ด้วยการทำให้ Customer Lifetime Value ของลูกค้าแต่ละคนสูงขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ให้เราได้อีกด้วย

หากรู้ว่า Customer Lifetime Value คือ อะไร และมีความสำคัญต่อธุรกิจขนาดไหนแล้วล่ะก็มาดูการคำนวณของ CLV กันเลย

Customer Lifetime Value มีการวัดอย่างไร ?

เพื่อให้คุณเข้าใจการวัด CLV ได้ง่าย ผมจะเอาตัวอย่างของ MakeWebEasy ข้างบนมาเคาะให้คุณดูต่อ โดยสูตรในการคำนวน Customer Lifetime Value คือ

CLV = Customer Value x Average Customer Lifetime

หรือ CLV = CV x ACL

โดย Average Customer Lifetime คือระยะเวลาเป็นลูกค้าเฉลี่ยของลูกค้าแต่ละคน ซึ่งจากตัวอย่างข้างบน ระยะเวลาเป็นลูกค้าเฉลี่ยของแต่ละคนสำหรับลูกค้า 5 คนของ MakeWebEasy คือ 2 ปี

Customer Value คือมูลค่า (รายได้ หรือกำไร) เฉลี่ยจากลูกค้า มีสูตรดังนี้

Customer Value = มูลค่าเฉลี่ยของการซื้อต่อครั้ง x ความถี่ในการซื้อ

จากตัวอย่าง เราสมมุติลูกค้าทั้ง 5 คนมี

  • มูลค่าเฉลี่ยของการซื้อ = 10,000 บาท/ครั้ง
  • ความถี่ในการซื้อ = 10 ครั้ง/ปี

ดังนั้น Customer Value ของลูกค้า 5 คนคือ 10,000 x 10 = 100,000 บาท/ปี

จากสูตร CLV = CV x ACL เราจะได้ CLV = 100,000 x 2 = 200,000 บาท

ทั้งนี้ ค่า CLTV ในช่วงๆ เดียวก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นตัวเลขที่ดี หรือไม่ดี เพราะฉะนั้นเราต้องเอาค่า CLTV ของช่วงหนึ่งไปเปรียบเทียบกับอีกช่วงที่ผ่านมาดู

ตัวอย่าง

ค่า CLTV ของลูกค้า 5 คนในปีแรกที่พวกเขาเป็นลูกค้า MakeWebEasy มีแค่ 150,000 บาท แต่หลังจากเป็นลูกค้าของ MakeWebEasy ได้ 2 ปี ค่า CLTV ของลูกค้าทั้ง 5 คนนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 บาท

หมายความว่าค่า CLV = 200,000 บาท ที่ลูกค้าทั้ง 5 คนสร้างให้กับ MakeWebEasy ตลอดระยะเวลา 2 ปีนั้นเป็นตัวเลขที่ดี เพราะจากปีแรกที่ค่า CLTV ของพวกเขามีแค่ 150,000 บาท หรือ MakeWebEasy มี CLV เพิ่มขึ้น 50,000 บาทจากลูกค้าทั้ง 5 คนนั้น

 

ทำอย่างไรให้ Customer Lifetime Value สูงขึ้น ?

รู้ CLTV ของธุรกิจคุณแล้วใช่ไหมครับ แต่ทำอย่างไรให้มันสูงขึ้นล่ะ ? ด้านล่างนี้เป็น 5 วิธีที่สามารถช่วยให้ CLV ของธุรกิจคุณสูงขึ้นได้

1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

วิธีแรกที่จะช่วยให้คุณเพิ่ม Customer Lifetime Value คือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพราะเป็นการที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อสินค้า บริการ และแบรนด์ของคุณโดยรวม และช่วยสนับสนุน หรือสั่งซื้อจากคุณอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแรกที่คุณควรทำในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้านั้นคือ สร้างความไว้วางใจ ซึ่งเกิดขึ้นได้ตราบใดที่คุณทำให้คำพูดที่เคยบอกกับลูกค้าไว้กลายเป็นความจริง

หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้ากับคุณครั้งแรก ลูกค้าจะไว้วางใจ และกลับมาซื้ออีก หากสินค้า/บริการที่เขาซื้อไปนั้นมีคุณภาพ และตรงตามคำพูดที่คุณได้บอกกับเขาจริงๆ แต่ถ้าไม่ล่ะก็ CLTV ของลูกค้าคนๆ นั้นก็จะหายไป

ตัวอย่าง

MakeWebEasy ได้สร้างความไว้วางใจให้กับหลากหลายธุรกิจ ซึ่งเคยบอกกับลูกค้าว่าจะช่วยให้ธุรกิจออนไลน์บนเว็บไซต์ของลูกค้าเติบโตอย่างมั่นคงจากความเชี่ยวชาญที่มี

Testimonial จากร้านขนมหวาน Miss Mamon และ TAROTO เป็นหนึ่งเสียงยืนยันความไว้วางใจที่ MakeWebEasy ได้สร้างให้กับลูกค้าจริงๆ

 

นอกจากความไว้วางใจแล้ว ความสัมพันธ์ที่ดีก็ยังต้องการ การใส่ใจ ด้วยครับ เพราะทุกคนต่างอยากได้การรับฟัง และความช่วยเหลือ เพราะฉะนั้น คุณต้องสนใจในปัญหาของคนซื้ออย่างยิ่ง และถามตัวเองว่าธุรกิจของคุณสามารถช่วยพวกเขาได้อย่างไร

คุณสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้าโดยตรงได้ด้วยการอยู่ใกล้ชิดกับพวกเขาให้มากที่สุด หมายความว่าไม่ใช่ติดต่อไปหาลูกค้าแค่ตอนที่คุณอยากขาย แต่สามารถให้ความช่วยเหลือได้เมื่อพวกเขาต้องการ

ช่องทางที่จะช่วยคุณสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้าได้ในปัจจุบันคือ Social Media โดยอ้างอิง ข้อมูลจาก  We Are Social ในปี 2022 ที่ว่า คนไทย 81.2% เล่น Social Media และเฉลี่ยมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน

แต่คุณก็ต้องรู้ด้วยว่า ลูกค้าของธุรกิจคุณอยู่บน platform ไหน Facebook, Instagram หรือ TikTok และส่วนใหญ่พวกเขา active เวลาไหนบ้าง

คุณไม่ควรใช้ Social Media เป็นแค่ช่องทางสำหรับโปรโมท หรืออัปเดตเกี่ยวกับแบรนด์ด้วยการยิงโฆษณาให้ลูกค้าเห็นอย่างเดียว แต่สร้างให้ Social Media เป็น community ที่สามารถรับฟังปัญหาและให้ความช่วยเหลือพวกเขาได้

ตัวอย่าง

MakeWebEasy ใช้ช่องทาง Facebook ไม่ใช่ เพื่อการขายอย่างเดียว แต่ใช้เป็นช่องทางให้ความช่วยเหลือ รับฟังปัญหาจากลูกค้า และแก้ปัญหาที่ลูกค้ามี

 

ข้อสุดท้ายที่ผมจะแนะนำในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าคือ ให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ของคุณมากขึ้น โดยการแชร์ product roadmap

ตัวอย่าง Product Roadmap

ส่วนใหญ่เรามักจะให้ลูกค้ารู้จักแค่สินค้าที่เรากำลังขายอยู่ แต่ไม่ได้ให้พวกเขารู้ว่าเรากำลังจะมีสินค้าอะไรในเร็วๆ นี้ แต่ถ้าลูกค้ารู้ product roadmap ของเรา พวกเขาจะรู้จักธุรกิจของเรามากขึ้น และอยู่กับเราเพื่อได้รับ value ที่เราจะมอบให้ไม่มีสิ้นสุด

ตัวอย่าง

product ต่างๆ ของบริษัท Apple มักจะมีข่าวทำให้ลูกค้า Apple รู้ว่า product ที่จะออกมาในเร็วๆ นี้จะมอบ value อะไรให้กับพวกเขา และก็สร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับแบรนด์ตลอดมา

 

แต่คุณไม่ควรสัญญาวันที่แน่นอนที่ product นั้นๆ จะออกมา เพราะ project แบบนี้อาจจะมีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ฉะนั้นการบอกช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้จะดีกว่า เช่น Coming Soon หรือ This November เพื่อไม่ทำร้ายการคาดหวังของลูกค้า และความสัมพันธ์ที่คุณกำลังมี

สรุปแล้วสิ่งที่คุณต้องทำหลักๆ ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าคือ สร้างความไว้วางใจ ใส่ใจกับปัญหาของลูกค้า และแชร์ product roadmap กับลูกค้า เพื่อทำให้ Customer Lifetime Value ของลูกค้าสูงขึ้นนั่นเองครับ

2. พัฒนาการบริการลูกค้าเสมอ

ในมุมมองคนซื้อ สำหรับร้านค้าที่ให้บริการไม่ดี เราก็คงไม่อยากซื้อจากเขาอีกเลยใช่ไหมครับ ? ฉะนั้นมองกลับมาในฐานะคนขาย เราต้องเอาใจใส่ลูกค้าอย่างมาก และบริการให้ดีที่สุด ถ้าอยากให้ลูกค้าอยู่กับเรานานๆ

ในการพัฒนาบริการลูกค้าอย่างสม่ำเสมอนั้น เราจำเป็นต้องรู้ให้ได้ก่อนว่ามีจุดไหนบ้างของบริการที่เราต้องปรับปรุง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาช่องทางการติดต่อที่ไม่สะดวกสำหรับลูกค้า เช่น ลูกค้าปัจจุบันเลือกช่องทางแชทในการติดต่อ แต่เราไม่มี

อีกปัญหาหนึ่งเราอาจจะมีความเชี่ยวชาญไม่มากพอในการช่วยเหลือลูกค้า หรือปัญหานโยบายคืนสินค้าที่ไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้ลูกค้าไม่กลับมาซื้ออีก

วิธีที่ช่วยให้เราเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเหล่านั้นได้อาจจะเป็น

  • การทำ survey รับ feedback จากลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถช่วยเราให้รับรู้ถึงปัญหา หรือจุดที่เราควรปรับปรุงโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การรับขอเสนอแนะจากทีมงานต่างๆ เพื่อเช็คว่าเราควรจะพัฒนาบริการลูกค้าอย่างไรต่อไป
  • การทำ social listening หรือเช็ค reviews เพื่อ track ว่ามีคน mention หรือพูดถึงปัญหาของสินค้า/บริการของคุณหรือเปล่า

 

ตัวอย่าง

จากการเช็ค comment ของ post หนึ่งบน Facebook ของ MakeWebEasy ทำให้เรารู้ว่า ลูกค้ายังไม่มีความรู้ด้านเว็บไซต์ ซึ่งสามารถให้เราช่วยเหลือเขาให้มีเว็บไซต์ของตัวเองได้

 

การที่เราสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ของลูกค้าได้ หมายความว่าเรากำลังให้บริการที่ดี ส่วนลูกค้าก็จะอยู่ และยังซื้อสินค้ากับเราอีกนานได้ หรือเขาอาจจะไปแนะนำคนอื่นให้รู้จักแบรนด์เราได้ด้วย

เมื่อพูดถึงการแนะนำภายในกลุ่มลูกค้ากันเอง คุณก็สามารถสร้าง referral program ซึ่งเป็นโปรแกรมเพื่อนแนะนำเพื่อน และคนที่แนะนำคนอื่นก็จะได้รางวัลต่างๆ จากแบรนด์ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิด การบอกต่อ ได้

ทั้งนี้เป็นการแสดงถึงการใส่ใจ และสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าจริงๆ ไม่ใช่แค่อยากเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจอย่างเดียว ซึ่งสุดท้ายก็สามารถเพิ่ม CLV ให้กับธุรกิจได้

3. เสนอดีลพิเศษๆ ให้กับลูกค้า

นอกจาก 2 วิธีข้างบนแล้ว เสนอดีลพิเศษให้กับลูกค้า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่ม Customer Lifetime Value ได้ เนื่องจากเป็นการรักษาความสัมพันธ์ และกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้ออีกครั้ง

สำหรับลูกค้าที่เพิ่งซื้อกับคุณครั้งแรก และกลับมาชมสินค้าตัวอื่นๆ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจคุณเป็นลูกค้าที่คุณต้องใส่ใจให้มากที่สุด เพื่อให้เขาได้รับประสบการณ์ที่ดี และกลับมาซื้ออีก

คุณอาจจะส่งอีเมลไปหาลูกค้ากลุ่มนี้ เพื่อเช็คว่าลูกค้าได้รับสินค้า/บริการที่พวกเขาคาดว่าจะได้รับจริงๆ พร้อมสร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่ดีกับพวกเขาด้วย

ต่อมาคุณต้องใช้ข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับลูกค้าให้เหมาะสมในการเสนอดีลพิเศษๆ ด้วยการทำให้แต่ละดีล personalized ที่สุด หรือทำให้ลูกค้ารู้ว่าดีลนี้มีเฉพาะสำหรับเขาเท่านั้น

นอกจากนี้คุณก็ต้องเป็นคน proactive ในการติดต่อลูกค้าที่หายไปสักพักใหญ่ให้กลับมาชมสินค้าที่อาจจะเหมาะสำหรับพวกเขา โดยการมอบดีลพิเศษๆ นี้อีกด้วยนะครับ

สำหรับกลุ่มลูกค้า loyalty ยิ่งเป็นกลุ่มที่คุณไม่ควรมองข้าม และต้องให้ความสำคัญอย่างมาก โดยาการสร้าง loyalty program ต่างๆ เช่น คูปองส่งฟรี หรือสิทธิ์ชมสินค้าใหม่ก่อนเปิดขายให้คนทั่วไป เพื่อเป็นการขอบคุณ และตอบแทนพวกเขาในการกลับมาซื้อกับคุณมาตลอด

ตัวอย่าง

MakeWebEasy ให้ลูกค้าที่ใช้แพ็คเกจ Professional กับเรา สามารถทดลองใช้ฟีเจอร์ chatcommerce 14 วันฟรีก่อนจะลงทะเบียนใช้จริง

 

เพราะฉะนั้นการเสนอดีลพิเศษที่ personalized ที่สุดอย่างที่ได้อธิบายข้างบนจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้แบรนด์คุณสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับลูกค้า และทำให้ CLTV สูงขึ้นได้

4. สร้างคอนเทนต์ที่มี Value

วิธีที่ 4 ที่ช่วยเพิ่ม CLV คือการสร้างคอนเทนต์ที่มี Value ให้กับลูกค้า ซึ่งให้ลูกค้าเห็นว่าคอนเทนต์ที่ทำมาไม่ใช่เชิงโปรโมชั่นเท่านั้น แต่มีคุณค่าที่เห็นได้ชัด และทำให้ลูกค้ามีส่วนรวมได้ เพราะจะทำให้ลูกค้าอยากสนับสนุนแบรนด์คุณมากขึ้น

สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่มี value คือ อย่าสร้างคอนเทนต์ที่กว้าง ไม่มีกลุ่มเป้าหมาย ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาคนอ่าน หรือคอนเทนต์ที่คนอ่านไม่ได้รับประโยชน์อะไรกลับมา

ตัวอย่าง

หนึ่งคอนเทนต์ที่ MakeWebEasy สร้าง value ให้กับลูกค้าคือ คอนเทนต์ knowledge ที่ MakeWebEasy มอบให้ทั้งใน Blog, Facebook, Instagram และ YouTube 

คอนเทนต์ Knowledge อย่าง Make it Easy EP.11 : Checklist เว็บไซต์ของคุณ เป็นคอนเทนต์ที่สร้าง Value ให้กับลูกค้าของ MakeWebEasy โดยการแนะนำ Checklist เว็บไซต์ว่า เว็บไซต์ของลูกค้าเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพหรือยัง

นอกจากจะเป็น Value ที่ช่วยให้ลูกค้ามีเว็บไซต์ที่มีคุณภาพมากขึ้นแล้ว ก็ยังทำให้เกิดการบอกต่อในกลุ่มลูกค้ากันเองอีกด้วยจากการแชร์ลง Facebook เป็นต้น

 

ไม่ว่าคอนเทนต์ที่คุณกำลังทำเป็นประเภทโปรโมชั่น ให้ความรู้ แบบสอบถาม หรือข่าวอัพเดทเกี่ยวกับสินค้า/บริการ หัวใจหลักที่คุณต้องนึงถึงเสมอคือ คอนเทนต์ของคุณช่วยแก้ปัญหาของคนอ่านได้อย่างไร แล้วการสื่อสารของคุณนั้นชัดเจนหรือไม่

คอนเทนต์ที่มี value มีความสำคัญอย่างมากในทุกๆ จุดที่ลูกค้า interact กับแบรนด์ ซึ่งทำให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของการใช้สินค้า/บริการ และอยากซื้อจากแบรนด์ต่อ ซึ่งทำให้ CLV สูงขึ้นนั่นเองครับ

5. Upsell และ Cross-Sell

Upsell และ Cross-sell เป็นอีกเทคนิกหนึ่งที่ช่วยให้ Customer Lifetime Value สูงขึ้นได้ในเชิงรายได้โดยตรง เนื่องจาก Upsell และ Cross-sell เป็นวิธีทำให้ยอดต่อการสั่งซื้อแต่ละครั้งของลูกค้ามีจำนวนมากขึ้น

ตัวอย่าง

การ upsell สำหรับธุรกิจซอฟต์แวร์ตัดต่อวีดีโอคือ การทำให้ลูกค้า upgrade จากแพ็คเกจ Basic Plan เป็น Standard Plan ซึ่งมีฟีเจอร์ให้ลูกค้าใช้มากกว่า เพื่อให้ยอดชำระแต่ละครั้งของลูกค้าสูงขึ้น

สำหรับการ Cross-sell ของธุรกิจซอฟต์แวร์นี้คือ การขายแพ็คเกจซอฟต์แวร์ตัดต่อรูปให้กับลูกค้า เมื่อพวกเขาจะซื้อแพ็คเกจซอฟต์แวร์ตัดต่อวีดีโอ ซึ่งลูกค้าจะได้รับราคารวมที่ถูกกว่าการซื้อแยกแต่ละแพ็คเกจ

แม้การ Cross-sell มีราคาถูกกว่าปกติ แต่ธุรกิจซอฟต์แวร์นี้ได้ทำให้ยอดชำระของลูกค้าสูงขึ้น หรือรายได้จากลูกค้าแต่ละคนสูงขึ้นนั่นเอง

 

Tips ในการ Upsell และ Cross-sell ได้แก่

  • ขายเป็นเซ็ต – โดยนำสินค้าหลายชิ้นมาขายในราคาเดียว หรือแนะนำสินค้าลดราคา เมื่อลูกค้าซื้อรวมกับสินค้าที่เขากำลังจะคิดเงินอยู่ แม้มันจะมีราคาถูกกว่าปกติ แต่เราก็ได้เพิ่มยอดต่อการสั่งซื้อแต่ละครั้งของลูกค้า
  • เสนอการ upgrade ชั่วคราว – เป็น tip ที่ดีสำหรับธุรกิจที่ให้ลูกค้า Subscribe เป็นแพ็คเกจ เนื่องจากเป็นการให้ลูกค้าทดลองใช้ 7 หรือ 14 วันก่อนจะ upgrade ใช้แพ็คเกจใหม่จริง
  • แนะนำสินค้าขายดีบนวิดเจ็ต sidebar – เป็นการกระตุ้นเพิ่มการสั่งซื้อจากลูกค้าที่กำลังช้อปบนเว็บไซต์ หรือแอป
  • ฟรี delivery – เป็นการเสนอค่าส่งฟรีให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าซื้อตามขั้นต่ำที่คุณกำหนด ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าซื้อเพิ่มได้ เนื่องจากลูกค้าจะยอมจ่ายค่าสินค้ามากกว่าค่าขนส่ง เมื่อซื้อไม่ครบขึ้นต่ำ
  • หลีกเลี่ยงการเสนอที่เยอะเกินไป – เมื่อลูกค้ารู้สึกว่ามีสิ่งที่ต้องเลือกเยอะเกินไป พวกเขาอาจจะทิ้งสินค้าไว้ในตะกร้าเลย เพราะฉะนั้นการแนะนำแค่ 3 ไอเทมน่าจะดีกว่า 10 ไอเทมนะครับ

 

สำหรับธุรกิจที่มีลูกค้าชำระค่าบริการประจำด้วยบัตร credit หรือ debit อย่าลืมเช็คด้วยนะครับว่าการชำระของลูกค้า fail หรือเปล่า ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเรื่อง จำนวนเงินไม่เพียงพอในบัตร credit ของลูกค้า บัตรลูกค้าหมดอายุ ถูกขโมย หรือหายเป็นต้น

software ที่สามารถช่วยแจ้งปัญหาข้างบนให้กับคุณได้มี Paddle, Chargebee, Chargify และ Recurly

แล้วนี้เป็นวิธี Upsell และ Cross-Sell ที่ทำให้ CLV ของธุรกิจคุณสูงขึ้นได้

เป็นยังไงบ้างครับ เข้าใจคำว่า Customer Lifetime Value และการคำนวณของมันแล้วใช่ไหมครับ ฉะนั้นก็ต้องเอาไปใช้แล้วแหละ

ลองคำนวณ CLV ของธุรกิจตนเองดูนะครับว่า CLV สูง หรือต่ำ ถ้าต่ำลองทำตาม 5 วิธีที่อธิบายไปข้างบนดูนะครับ